บทความจากคุณหมอ

เรามีความรู้เกี่ยวกับการผ่าตัดแก้แผลเป็นมาฝากด้วยค่ะ การผ่าตัดแผลเป็น ที่หลายๆคนคิดว่าเป็นการตัดออกแล้วเย็บใหม่นั้น ความจริงแล้วมีขั้นตอนและวิธีการทำที่ยากกว่านั้นคะ เพราะอาจต้องมีการโยกเนื้อทั้งภายในและผิวภายนอกร่วมด้วยเพื่อให้สามารถปิดที่ผิวแผลเป็นที่เมื่อตัดออกแล้วจะยิ่งกว้างใหญ่กว่าก่อนผ่าตัดมากคะ เนื่องจากมีแรงดึงจากรอบนอกร่วมด้วย รวมถึงคุณหมอท่านก็ต้องแต่งเย็บมุมแผลทั้งสองข้างให้ดูเนียนและเรียบคะ

หากแผลเป็น เป็นวงกลมแล้วตัดออกเป็นวงกลมแล้วเย็บเข้าหากันโดยไม่มีขั้นตอนในการแต่งแผล แผลก็คงไม่สวยใข่มั้ยคะ นั่นคือสาเหตุว่าทำไมแผลถึงยาวขึ้นได้คะ ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกเคสจะต้องยาวขึ้นเหมือนกันทุกเคสคะ ขึ้นกับลักษณะของแผลแต่ละท่านร่วมด้วยคะ

หมายเหตุ **  การผ่าตัดแก้แผลเป็นเป็นเพียงวิธีหนึ่งเท่านั้นและไม่สามารถทำได้ทุกรายนะคะ สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถโทรนัดเข้ามาเพื่อปรึกษาคุณหมอได้ที่ 0863509030 คะ ขอบคุณคะ

แจ้งข่าวจากแอ๊ดมินค่า คุณหมออภิชาญจะติดภารกิจงานประชุมในวันที่20-22 กุมภาพันธ์ 2561 ซึ่งคุณหมอจะงดออกตรวจในเวลาดังกล่าวนะคะ แต่ทุกท่านสามารถติดต่อเพื่อสอบถามและโทรนัดได้ที่ 0863509030 ,027263640 ได้ตามปกติค่า

วันพฤหัสแล้ววว ท่านที่ทำงานหลายๆคนคงใกล้ถึงวันหยุดแล้ว เมื่อวานกล่าวถึงประเภทของแผลเป็นแล้ววันนี้จะเป็นเรื่องของการรักษาค่ะ
การรักษาแผลเป็น (Scar treatment) นั้น สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

1. การรักษาโดยการผ่าตัด ซึ่งสามารถใช้ได้กับแผลเป็นทุกชนิด ซึ่งวิธีที่ง่ายที่สุดคือ การผ่าตัดแผลเป็นนั้นโดยตรงแล้วเย็บกลับเข้ามาใหม่ แต่หากเป็นบริเวณที่ยากต่อการเย็บโดยตรง อาจใช้วิธีโยกเนื้อข้างเคียงเข้ามาเพื่อทำให้เย็บได้ง่ายขึ้น (Local flap coverage ) หรือ ใช้เนื้อเยื่อบริเวณอื่นมาปิดแทน (Distant flap) เช่น ใช้เนื้อเยื่อบริเวณต้นขามาปิดแผลเป็นบริเวณหน้าท้องช่วงล่าง หรือแม้แต่การฝังอุปกรณ์ยืดขยายผิวหนัง (Tissue Expander) ไว้ก่อน เมื่อได้ผิวหนังที่ยืดขยายดีแล้วจึงค่อยตัดแผลเป็นออก และโยกผิวหนังที่ยืดขยายแล้วเข้ามาปิดบริเวณที่ตัดเอาแผลเป็นนั้นออกอีกที นอกจากนี้หากเป็นแผลเป็นที่มีขนาดใหญ่มากๆ โดยเฉพาะแผลเป็นดึงรั้ง อาจใช้การผ่าตัดทางจุลศัลยกรรมเข้ามาช่วย โดยใช้เนื้อเยื่อและผิวหนังบริเวณอื่นมาปิดแผลเป็นที่ตัดออก ร่วมกับการเย็บต่อหลอดเลือดและเส้นประสาท (Free flap coverage) ส่วนการปลูกผิวหนัง (Skin graft) นั้นเป็นวิธีที่มีการใช้กันมากในกรณีที่ไม่สามารถเย็บแผลเป็นเข้าหากันโดยตรง แต่ในด้านความสวยงามของผิวหนัง และการรับรู้ความรู้สึกที่ผิวหนัง จะไม่ดีเท่าวิธีการผ่าตัดอื่นที่กล่าวมา

2. การรักษาโดยวิธีไม่ผ่าตัด มักใช้กับแผลเป็น Hypertrophic และ Keloid ซึ่งมีหลายวิธีได้แก่
2.1 การฉีดยาให้แผลเป็นยุบ ซึ่งมักต้องร่วมกับการนวดบริเวณแผลเป็นที่ถูกวิธีด้วย
2.2 การใช้เลเซอร์
2.3 การใช้รังสี
2.4 การใช้ยาทาแผลเป็น หรือใช้แผ่นซิลิโคนปิดแผล

3. การรักษาแบบผสมผสาน คือ ใช้ทั้งวิธีผ่าตัดและไม่ผ่าตัดร่วมกัน ซึ่งโดยทั่วไปมักใช้ในกรณีแผลเป็น Hypertrophic และ Keloid ขนาดใหญ่ โดยจะฉีดยาให้ยุบลงในระดับที่ทำให้การผ่าตัดง่ายขึ้น แล้วจึงใช้วิธีการผ่าตัดแบบเย็บผิวหนังเข้าหากันโดยตรง หรือ วิธีการโยกเนื้อเยื่อข้างเคียงมาปิด เป็นต้น
ซึ่งแผลแต่ละแบบจะรักษาแบบไหนนั้นขึ้นอยู่กับความชำนาญของคุณหมอค่ะ

สวัสดีค่ะ วันนี้คุณหมออภิชาญ ได้เพิ่มบทความเกี่ยวกับการทำตา (Blepharoplasty) ในเว็บบอร์ดแล้ว สามารถเข้าไปอ่านได้โดยอย่าลืมสมัครสมาชิกนะคะ :)

1.1 การทำตาบน (Upper blepharoplasty ) ซึ่งก็มี 2 วิธีหลักที่ใช้กันในปัจจุบัน คือ การเย็บแบบ 3 จุด หรือที่นิยมเรียกกันว่า ‘การทำตาแบบเกาหลี’ กับการกรีดแล้วเย็บ หรือที่เรียกกันว่า ‘การทำตาแบบเดิม’ ทั้ง 2 วิธีนี้ต่างก็มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน

โดยส่วนตัวแล้วผมชอบใช้วิธีการกรีดแล้วเย็บมากกว่า เนื่องจากการเย็บแบบ 3 จุดนั้น จากประสบการณ์พบว่า โดยทั่วไปไม่เกิน 6 เดือน ตา 2 ชั้นก็มักจะคลายตัวออกจากไหมเย็บ สุดท้ายก็จะเหลือเป็นตา 2 ชั้นที่ไม่เท่ากัน หรือหากโชคร้ายก็จะเป็นเหมือนเดิมก่อนการทำตา 2 ชั้น นอกจากนั้น สำหรับคนที่มีไขมันบริเวณเปลือกตาบนมากๆก็ไม่เหมาะจะใช้วิธีนี้ เนื่องจากไม่สามารถเอาไขมันออกได้มาก หรือเลือกตำแหน่งที่มีไขมันสะสมมากกว่าปกติออกลำบาก ส่วนข้อดีของวิธีนี้ก็มีแค่ ทำได้เร็ว แผลไม่ยาว และหลังผ่าตัดไม่มีอาการบวมมาก หรือสามารถไปทำงานได้เลยหลังผ่าตัด

การทำตา (Blepharoplasty)