คุณสามารถล็อกอิน โดยใช้ชื่อ/รหัสผ่าน ได้หลังจาก active ผ่านอีเมล์ที่ส่งกลับไปนะคะ
สามารถดูรีวิว + อ่านบทความได้แม้ไม่ได้เป็นสมาชิก (แต่หาก log-in) จึงจะสามารถตั้งคำถาม - แสดงความเห็นในกระทู้ได้

หมายเหตุ ** ปกติจะมีอีเมล์แจ้งรายละเอียดการสมัคร ส่งกลับไปหาคุณภายใน 5 นาทีค่ะ
ถ้าหากล็อกอินไม่ได้ สามารถแจ้งชื่อ Username ที่คุณใช้สมัคร มาสอบถามที่ millionews@live.com หรือโทรสอบถามที่ 02-434-6876 , 086-350-9030 ค่ะ

การดูแลรักษาแผล

เป็นความเห็นส่วนบุคคล ห้ามนำบทความไปเปรียบเทียบกับผู้อื่น หรือ นำไปเผยแพร่ที่อื่นโดยไม่ได้รับอนูญาต หากทราบทางคลีนิกจะดำเนินตามกฏหมายทันที

An article in this club is personal opinion, Please do not compared with others or publish elsewhere without permission.
Forum rules
ห้ามเผยแพร่ หรือคัดสำเนาของบทความใดใดที่ลงไว้โดยเด็ดขาด เนื่องจากเป็นความเห็นส่วนตัว และป้องกันการเกิดความขัดแย้งในด้านความคิดเห็นในอนาคต หากผู้ใดละเมิดต้องรับผิดตามกฎหมาย

Please don't publish these article elsewhere without permission. because is a personal opinion. Any violation is liable under the law.
admin
ผู้ดูแลเว็บ
ผู้ดูแลเว็บ
Posts: 612
Joined: Fri Apr 08, 2011 5:29 pm

การดูแลรักษาแผล

Postby admin » Sun May 01, 2011 8:40 pm

แผลทุกชนิดไม่ว่าเป็นแผลเฉียบพลัน เช่น แผลน้ำร้อนลวก แผลโดนมีดบาด หรือ แผลเรื้อรัง เช่น แผลเบาหวาน , แผลกดทับ ฯลฯ เป็นต้น ล้วนแล้วแต่มีหลักในการดูแลง่ายๆ 3 ขั้นตอน คือ


ขั้นตอนที่ 1. การกำจัดสิ่งสกปรก และเนื้อเยื่อที่ตายออก ถือเป็นขั้นตอนหลักของการหายของบาดแผล ซึ่งแผลจะหายหรือไม่ขึ้นอยู่กับขั้นตอนนี้เป็นหลัก โดยขั้นตอนนี้มี 2 วิธีด้วยกัน ซึ่งอาจจะต้องใช้ร่วมกัน หรือ ทำอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นกับลักษณะแผลที่ศัลยแพทย์ทั่วไปหรือศัลยแพทย์ตกแต่งจะเป็นผู้ตัดสินว่าจะใช้วิธีไหนในการรักษา

1.1 การใช้วิธีทางศัลยกรรม (Surgical debridement) คือ การผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อที่ตายออก รวมทั้งล้างเอาสิ่งแปลกปลอมออกจากบาดแผล

1.2 การใช้วิธีทางการใช้ยา (Medical debridement) คือ การใช้น้ำเกลือ การใส่ยาฆ่าเชื้อที่บาดแผล รวมถึงการใช้ยากลุ่มเอนไซม์ ที่ย่อยสลายเนื้อตาย และ / หรือ ยับยั้ง , ฆ่าเชื้อจุลชีพต่าง ๆ บริเวณบาดแผล


ขั้นตอนที่ 2. การทำให้บาดแผลชุ่มชื้น เพราะการที่แผลจะหดเข้ามาปิดบาดแผลได้นั้น บริเวณแผลต้องชุ่มชื้น ซึ่งวิธีง่ายสุด คือ การใช้ผ้าก็อซชุบน้ำเกลือปิดบริเวณบาดแผล แต่ข้อเสีย คือ น้ำเกลือมักแห้งเร็ว และเมื่อแห้งผ้าก็อซจะติดแผล และเจ็บเวลาเอาผ้าก็อซออก รวมทั้งขณะเอาผ้าก็อซที่แห้งออกยังอาจทำลายเนื้อเยื่อของแผลที่ติดออกมากับผ้าก็อซได้ ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้ผ้าก็อซแห้ง จึงต้องเปลี่ยนผ้าก็อซอย่างน้อยทุก 4 ชั่วโมง ทำให้ไม่ค่อยสะดวกในทางปฏิบัติ ดังนั้น จึงมีการใช้ ผลิตภัณฑ์บางชนิด เพื่อสร้างความชุ่มชื้นกับแผล หรือ พูดง่าย ๆ คือ ป้องกันไม่ให้การระเหยของน้ำบริเวณแผลเร็วเกินไป เช่น การใช้ Hydrogel ฯลฯ เป็นต้น


ขั้นตอนที่ 3. การทำให้แผลปิดให้เร็วที่สุด เนื่องจากแผลที่ยิ่งใช้เวลานานในการหายของแผล จะยิ่งเกิดเนื้อเยื่อผังผืด บริเวณแผลมากขึ้น ปริมาณหลอดเลือดที่จะไปเลี้ยงแผลก็ลดลง ดังนั้นหากปล่อยให้แผลหายช้ามากเท่าไร อัตราการหายของแผลก็ยิ่งลดลง ดังนั้นศัลยแพทย์ทั่วไป หรือศัลยแพทย์ตกแต่งจะเป็นผู้ประเมินว่าเมื่อไร ควรเริ่มปิดแผล หากประเมินว่า แผลไม่สามารถปิดได้เอง ส่วนวิธีการก็มีตั้งแต่ การเย็บปิดแผลโดยตรง , การปลูกถ่ายผิวหนัง, การปิดแผลโดยโยกเนื้อเยื่อข้างเคียง หรือ บริเวณส่วนอื่นของร่างกายและสุดท้าย การปิดแผลโดยใช้การต่อหลอดเลือด และหรือเส้นประสาทจากเนื้อเยื่อ บริเวณอื่นของร่างกาย

จะเห็นได้ว่า การดูแลรักษาแผลไม่ใช่เรื่องง่ายที่ใครจะมองข้าม หรือเป็นเรื่องยากเกินไปที่ผู้ป่วยไม่สามารถดูแลหรือทำแผลได้เอง แต่หากเข้าใจขั้นตอนการดูแลแผลดังกล่าวแล้ว คุณเองก็พร้อมที่จะดูแลแผลให้กับตัวเอง หรือ คนข้างเคียงที่เป็นคนสำคัญของคุณ พร้อมกับการดูแลจากศัลยแพทย์ ได้อย่างมั่นใจครับ



นพ. อภิชาญ พงศ์พัฒนานุรักษ์
ศัลยแพทย์ทั่วไปและศัลยแพทย์ตกแต่ง

kittiya
หน้าใหม่
หน้าใหม่
Posts: 22
Joined: Sat Aug 06, 2011 11:35 pm

Re: การดูแลรักษาแผล

Postby kittiya » Fri Aug 12, 2011 1:03 pm

ได้ความรุ้มากเลย ค่ะ

puklooknarak20
สมาชิกขาประจำ
สมาชิกขาประจำ
Posts: 89
Joined: Tue Apr 19, 2011 12:47 pm

Re: การดูแลรักษาแผล

Postby puklooknarak20 » Thu Aug 18, 2011 5:45 pm

:)

Anakonme
หน้าใหม่
หน้าใหม่
Posts: 2
Joined: Thu Apr 09, 2015 3:58 pm

Re: การดูแลรักษาแผล

Postby Anakonme » Thu Apr 09, 2015 4:31 pm

อ่านแล้วเพลินเลย


Return to “บทความจาก คุณหมอ”

Who is online

Users browsing this forum: No registered users and 2 guests