บทความจากคุณหมอ

วันนี้แอดมินขอมาให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแผลเป็นนะคะ หลายคนคงสงสัยใช่มั้ยคะ ว่าแผลเป็นเมื่อผ่าตัดแก้ไขแผลเป็นแล้วจะเป็นอย่างไร คุณหมอท่านขออธิบายง่ายๆให้เข้าใจ ไม่ค้องอิงศัพท์วิชาการมากมายคะ ขอแบ่งเป็นช่วงตามระยะเวลาหลังผ่าตัดดังนี้

ช่วงที่หนึ่ง:เป็นช่วงหลังผ่าตัดไปแล้วภายใน 3 สัปดาห์แรกคะ จะเป็นช่วงที่แผลจะนูนแดง (ทั้งนี้ต้องไม่ใช่การนูนแดง จากการติดเชื้อนะคะ ซึ่งจะแตกต่างกับการหายของแผลตามปกติคะ เอาง่ายๆคะ ไม่ปวด บวม แดง ร้อน หรือมีหนองออกมาคะ) เป็นช่วงที่เป็นกระบวนการหายของแผลตามปกติที่จะมีอาการบวมแดงของแผลในช่วง2-3วันแรกหลังจากนั้นจะค่อยๆยุบลงทั้งความบวมและความแดงของแผลอยู่ เป็นช่วงที่ความแข็งแรงของแผลส่วนใหญ่เกิดจากเทคนิค หรือวิธีการในการเย็บแก้แผลเป็นของคุณหมอเป็นหลัก เพื่อไม่ให้แผลปริหรือแยกออกจากกัน แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นกับการดูแลแผลของคนไข้เป็นสำคัญร่วมด้วยเพื่อลดการติดเชื้อแทรกซ้อนที่แผลและร่วมกับการขยับบริเวณแผลที่ทำการแก้แผลเป็นให้น้อยที่สุด เพื่อป้องกันแผลปริหรือแยกให้เกิดน้อยที่สุด

ช่วงที่สอง: เป็นช่วงระยะเวลา 3สัปดาห์ ถึง 3 เดือน เป็นช่วงที่ความแข็งแรงของแผลเริ่มมากขึ้นจากกระบวนการหายของแผล แต่แน่นอนว่าย่อมไม่เท่ากับผิวหนังที่ไม่เคยมีแผลเป็นมาก่อน เนื่องจาก การหายของแผลย่อมหายด้วยเนื้อเยื่อผังผืด ซึ่งมีแต่ความแข็ง แต่ไม่ยืดหยุ่น ซึ่งแตกต่างจากผิวหนังปกติที่มีเส้นใยคอลลาเจน และอิลาสตินในสัดส่วนที่เหมาะสม จึงทำให้มีทั้งความแข็งแรงและความยืดหยุ่นไปพร้อมๆกัน ในช่วงนี้หากการหายของแผลเป็นไปโดยปกติ คือไม่เกิดการยืดขยายจากการเคลื่อนไหวบริเวณนั้นของแผลเป็น หรือเกิดการหายของแผลที่มากกว่าปกติจนเกิดเป็นแผลเป็นนูน ซึ่งมีหลายสาเหตุ ขออนุญาตไม่กล่าวถึงนะคะ ช่วงนี้จากแผลที่นูนแดงก็จะเริ่มยุบลง และเปลี่ยนจากสีแดง เป็นสีน้ำตาลเข้ม หรือสีขาวกว่าผิวปกติ ก็เป็นได้ แล้วแต่ลักษณะผิวเดิมของแต่ละคนคะ แต่ในบ้านเราส่วนใหญ่จะเปลี่ยนเป็นสีเข้มกว่าสีผิวปกติเป็นส่วนใหญ่คะ แต่ในบางท่านอาจมีผสมทั้งสีเข้มและสีจางกว่าปกติก็มีคะ ช่วงนี้สิ่งที่ต้องระวังคือเรื่องของการเคลื่อนไหว หรือขยับบริเวณรอยแผลผ่าตัดนะคะ ถึงแม้จะมีความแข็งแรงของแผลมากขึ้นแต่เนื่องจากส่วนประกอบส่วนใหญ่ยังเป็นเนื้อเยื่อผังผืด ซึ่งมีแต่ความแข็งแต่ไม่มีความยืดหยุ่น หากเคลื่อนไหวมากก็มีโอกาสเกิดแผลเป็นยืดและหรือบุ๋ม หรือแผลเป็นนูนเกิดขึ้นได้คะ จึงไม่ควรขยับมากในบริเวณแผลผ่าตัดคะ แต่ก็ยังพอเคลื่อนไหวได้ดีกว่าในช่วง 3สัปดาห์แรกนะคะ

ช่วงที่สาม: เป็นช่วงระหว่าง3-6 เดือนหลังผ่าตัด เป็นช่วงรอยต่อจากช่วงที่สองซึ่งกระบวนการหายของแผลจากเนื้อเยื่อผังผืดจะเริ่มลดสัดส่วนลงและถูกแทนที่ด้วยเส้นใยคอลลาเจนและอิลาสตินเพิ่มขึ้น ในช่วงนี้บางคนอาจเพิ่งเริ่มเห็นแผลเปลี่ยนเป็นสีเข้มหรือสีจางกว่าผิวก็ได้และส่วนที่คลำแล้วนูนในช่วงที่สองอาจเพิ่งเริ่มลดลงและนิ่มก็ได้ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้แล้วแต่บุคคล แต่สิ่งที่แตกต่างคือความยืดหยุ่นบริเวณแผลเป็นจะมากขึ้นกว่าช่วงที่สองนั้นคือโอกาสการเกิดเป็นแผลเป็นยืดและบุ๋มหรือแผลเป็นนูนจะลดลงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงที่สอง

ช่วงที่สี่: เป็นช่วงระยะระหว่าง 6เดือน-1ปี เป็นช่วงที่การเติบโตของผังผืดจะโตในอัตราที่ลดลงมากและตรงข้ามกับการเติบโตหรือเข้ามาแทนที่จองเส้นใยคอลลาเจนและอิลาสตินที่เติบโตในอัตราที่สูงขึ้นแทน ช่วงนี้แผลเป็นจะค่อนข้างนิ่ม สีอาจเป็นสีเข้มที่เริ่มจางลง หรือสีอ่อนที่เริ่มเข้มขึ้นบ้าง แต่ก็ไม่เท่ากับสีผิวหนังปกติโดยรอบ ความยืดหยุ่นของผิวบริเวณแผลเป็นดีขึ้น

ช่วงระยะที่ห้า: เป็นช่วงหลัง 1ปี ไปแล้วเป็นระยะสุดท้าย หรือระยะที่แผลเจริญเติบโตเต็มที่ หากไม่มีการทำให้เกิดการอักเสบ หรือเป็นแผลทับลงบนแผลเป็นอีก แผลเป็นนี้ก็จะมีจำนวนเส้นใยผังผืดที่ลดลงเหลืออยู่คงที่ตรงตำแหน่งที่มีการเย็บแผลเลย ซึ่งมีจำนวนน้อยสุดที่ยังคงมีอยู่และรอบๆก็จะเป็นเส้นใยคอลลาเจนและอิลาสตินตามปกติใกล้เคียงกับผิวหนังทั่วไป ซึ่งความแข็งแรงร่วมกับความยืดหยุ่นของแผลในระยะสุดท้ายนี้ ถือว่าดีที่สุดของแผลแล้วแต่ก็ไม่เท่ากับผิวหนังปกติ รวมทั้งสีผิวก็มักจะไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงแล้วหลังจากนี้ สุดท้ายก็จะทิ้งร่องรอยของรอยแผลเป็นอยู่บ้าง ซึ่งผลสำเร็จของแผลว่าจะสวยหรือไม่จึงขึ้นกับฝีมือของแพทย์ผู้ทำผ่าตัดเป็นหลัก รองลงมาขึ้นกับตำแหน่ง ขนาด บริเวณนั้นมีการเคลื่อนไหวมากหรือไม่รวมถึงการดูแลแผลขอคนไข้เอง และสุดท้ายซึ่งมีผลอยู่ในสัดส่วนที่น้อยสุดแต่ก็มีผลคือ พันธุกรรม ของคนไข้เองที่จะส่งผลต่อลักษณะการหายของแผลว่าจะเป็นแผลเป็นนูนที่ผิดปกติรวมทั้งแผลเป็นคีลอยด์ได้ง่ายหรือไม่รวมถึงสีผิวหลังแผลหายว่าจะเป็นแบบใดร่วมด้วย

อ่านบทความทั้งหมดได้ที่ บทความจาก นพ.อภิชาญ พงศ์พัฒนานุรักษ์

เรามีความรู้เกี่ยวกับการผ่าตัดแก้แผลเป็นมาฝากด้วยค่ะ การผ่าตัดแผลเป็น ที่หลายๆคนคิดว่าเป็นการตัดออกแล้วเย็บใหม่นั้น ความจริงแล้วมีขั้นตอนและวิธีการทำที่ยากกว่านั้นคะ เพราะอาจต้องมีการโยกเนื้อทั้งภายในและผิวภายนอกร่วมด้วยเพื่อให้สามารถปิดที่ผิวแผลเป็นที่เมื่อตัดออกแล้วจะยิ่งกว้างใหญ่กว่าก่อนผ่าตัดมากคะ เนื่องจากมีแรงดึงจากรอบนอกร่วมด้วย รวมถึงคุณหมอท่านก็ต้องแต่งเย็บมุมแผลทั้งสองข้างให้ดูเนียนและเรียบคะ

หากแผลเป็น เป็นวงกลมแล้วตัดออกเป็นวงกลมแล้วเย็บเข้าหากันโดยไม่มีขั้นตอนในการแต่งแผล แผลก็คงไม่สวยใข่มั้ยคะ นั่นคือสาเหตุว่าทำไมแผลถึงยาวขึ้นได้คะ ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกเคสจะต้องยาวขึ้นเหมือนกันทุกเคสคะ ขึ้นกับลักษณะของแผลแต่ละท่านร่วมด้วยคะ

หมายเหตุ **  การผ่าตัดแก้แผลเป็นเป็นเพียงวิธีหนึ่งเท่านั้นและไม่สามารถทำได้ทุกรายนะคะ สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถโทรนัดเข้ามาเพื่อปรึกษาคุณหมอได้ที่ 0863509030 คะ ขอบคุณคะ

สวัสดีเช่นเคยค่าา วันนี้แอดได้สัมภาษณ์คุณหมออภิชาญเกี่ยวกับเรื่องการเสริมจมูก มาดูดีกว่าว่ามีอะไรที่เรายังไม่รู้อีกบ้าง

” การเสริมจมูก ไม่ใช่การวาดรูปว่าจะเติมตรงนั้น ลบตรงนี้แล้วออกมาสวยตามนั้น มันย่อมเป็นไปไม่ได้ แม้แต่การใช้โปรแกรมสร้างภาพที่ถูกนำมาใช้ในหลายสถานที่ก็ตามว่าหากเสริมจมูกโดยใช้ซิลิโคนหนาเท่านี้แล้วจะได้โด่งเท่านั้น เนื่องจากข้อกำหนดที่สำคัญคือโครงสร้างของทั้งกระดูกแข็งทางครึ่งบนของจมูกและกระดูกอ่อนทางครึ่งล่างของจมูกและที่สำคัญผิวหนังบริเวณจมูกที่มีลักษณะที่แตกต่างกัน

คนที่มีโครงสร้างของจมูกทั้งกระดูกแข็งและกระดูกอ่อนที่ค่อนข้างสมมาตรซ้ายและขวา รวมถึงความโด่งและความยาวของโครงสร้างทั้งสองที่มีอยู่เดิมย่อมได้เปรียบกว่าคนที่มีอยู่น้อยเป็นธรรมดา นอกจากนั้นสิ่งสำคัญที่ลืมไม่ได้เลยแต่มักจะไม่สนใจกันคือลักษณะของผิวหนังบริเวณจมูก บางคนมีเนื้อเยอะ ผิวหนา ปลายจมูกโต ทำให้ดูเหมือนจมูกใหญ่ยิ่งถ้าจมูกสั้นร่วมด้วยกลายเป็นจมูกเล็กสั้นปลายโตใหญ่ซึ่งพบได้บ่อยสำหรับคนไข้บ้านเรา หรือบางคนกลับมีผิวบาง ตึงจมูกเล็ก ก็เป็นอีกประเภทหนึ่งที่พบได้บ่อยแม้ไม่เท่ากลุ่มแรกก็ตาม ในกลุ่มนี้มักมีปัญหาที่พบบ่อยว่าทำอย่างไรให้จมูกดูยืดยาวโด่ง และพุ่งมากที่สุด ส่วนใหญ่ทุกวันนี้ที่พบคือมักจะเสริมจมูกกันโดยไม่สนใจว่าผิวหนังจะรับได้มากน้อยแค่ไหน ขอให้ดูโด่งพุ่งไว้ก่อนคือสวย หรือเสริมทั้งทีไม่โด่งพุ่งแล้วจะเสริมทำไม แต่สุดท้ายก็มักจะจบด้วยจมูกทะลุ ติดเชื้อแทบทั้งนั้น ลองนึกดูนะครับ ผิวหนังคนเราต้องการเลือดไปเลี้ยงผ่านหลอดเลือดฝอยเล็กๆระดับผิวหนัง ถ้าหากเราเอาอะไรไปกดทับเส้นเลือดเหล่านี้ไว้ตลอด จนเลือดไม่สามารถไหลผ่านหลอดเลือดเหล่านี้ได้หรือไหลผ่านได้น้อยเกินกว่าจุดที่ผิวหนังจะพอรับได้ สิ่งที่ตามมาคือผิงหนังบริเวณนั้นจะขาดเลือดไปเลี้ยง ผิวหนังบริเวณนั้นก็เริ่มอ่อนแอ มีโอกาสติดเชื้อโรคได้ง่าย และสุดท้ายก็ทะลุในที่สุด ย่อมไม่มีใครต้องการผลลัพธ์เช่นนั้น

ดังนั้นการเสริมจมูกจึงขึ้นกับสิ่งที่คนไข้แต่ละท่านมีมาร่วมด้วย ทั้งโครงสร้างของกระดูกแข็ง และกระดูกอ่อน รวมถึงผิวหนังเป็นสำคัญ เพราะการเสริมจมูกไม่ใช่การวาดรูป คุณหมอที่ทำผ่าตัดควรมีความเข้าใจถึงพื้นฐานในจุดนี้ก่อนและที่สำคัญตัวคนไข้เองก็ควรจะรู้ลักษณะจมูกคร่าวๆของเราเอง ไม่ใช่ว่าอยากได้แบบดาราท่านนี้ก็เอารูปมาแล้วบอกคุณหมอขอแบบนี้ คุณหมอบางท่าน ก็อาจจะทราบว่าบางท่านไม่สามารถทำให้ได้ตามต้องการแต่ถ้าไม่ทำตาม คนไข้ท่านนั่นก็จะไปทำที่อื่น เหล่านี้คือจรรยาบรรณของคุณหมอที่ทำผ่าตัด คนไข้ควรจะมีวิจารณญาณ พิจารณาอย่าถี่ถ้วนเองร่วมด้วยเป็นสำคัญ ว่าควรจะทำตามที่คุณหมอท่านได้บอกไว้หรือไม่ คุณหมอท่านไหนที่แทบจะไม่ได้ตรวจแค่มองและพูดไม่ถึง5นาที โดยไม่บอกสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น ข้อควรปฏิบัติ ข้อควรระวังหลังการเสริม และสิ่งอื่นที่จำเป็น บอกเพียงแต่ว่าเสริมแล้วสวยแน่ๆ ก็ต้องพิจารณาให้รอบคอบด้วยเสมอ
สุดท้าย จมูกที่เสริมมาแล้วสวยคือจมูกที่เหมาะกับคนไข้ท่านนั้นๆ ทำให้มั่นใจขึ้นกว่าเดิม แม้จะไม่เต็มร้อยเหมือนกับที่คาดหวังไว้ เพราะโครงสร้างแต่ละท่านที่มีมาย่อมแตกต่างกัน และที่สำคัญคือหลังเสริมแล้วปลอดภัย อยู่ได้นานๆ ไม่ต้องมากังวลว่าจะทะลุหรือไม่ ย่อมทำให้คนไข้ท่านนั้น มั่นใจและมีความสุขกับการทำศัลยกรรมตกแต่งที่ถูกต้องและเหมาะสมครับ ”

วันพฤหัสแล้ววว ท่านที่ทำงานหลายๆคนคงใกล้ถึงวันหยุดแล้ว เมื่อวานกล่าวถึงประเภทของแผลเป็นแล้ววันนี้จะเป็นเรื่องของการรักษาค่ะ
การรักษาแผลเป็น (Scar treatment) นั้น สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

1. การรักษาโดยการผ่าตัด ซึ่งสามารถใช้ได้กับแผลเป็นทุกชนิด ซึ่งวิธีที่ง่ายที่สุดคือ การผ่าตัดแผลเป็นนั้นโดยตรงแล้วเย็บกลับเข้ามาใหม่ แต่หากเป็นบริเวณที่ยากต่อการเย็บโดยตรง อาจใช้วิธีโยกเนื้อข้างเคียงเข้ามาเพื่อทำให้เย็บได้ง่ายขึ้น (Local flap coverage ) หรือ ใช้เนื้อเยื่อบริเวณอื่นมาปิดแทน (Distant flap) เช่น ใช้เนื้อเยื่อบริเวณต้นขามาปิดแผลเป็นบริเวณหน้าท้องช่วงล่าง หรือแม้แต่การฝังอุปกรณ์ยืดขยายผิวหนัง (Tissue Expander) ไว้ก่อน เมื่อได้ผิวหนังที่ยืดขยายดีแล้วจึงค่อยตัดแผลเป็นออก และโยกผิวหนังที่ยืดขยายแล้วเข้ามาปิดบริเวณที่ตัดเอาแผลเป็นนั้นออกอีกที นอกจากนี้หากเป็นแผลเป็นที่มีขนาดใหญ่มากๆ โดยเฉพาะแผลเป็นดึงรั้ง อาจใช้การผ่าตัดทางจุลศัลยกรรมเข้ามาช่วย โดยใช้เนื้อเยื่อและผิวหนังบริเวณอื่นมาปิดแผลเป็นที่ตัดออก ร่วมกับการเย็บต่อหลอดเลือดและเส้นประสาท (Free flap coverage) ส่วนการปลูกผิวหนัง (Skin graft) นั้นเป็นวิธีที่มีการใช้กันมากในกรณีที่ไม่สามารถเย็บแผลเป็นเข้าหากันโดยตรง แต่ในด้านความสวยงามของผิวหนัง และการรับรู้ความรู้สึกที่ผิวหนัง จะไม่ดีเท่าวิธีการผ่าตัดอื่นที่กล่าวมา

2. การรักษาโดยวิธีไม่ผ่าตัด มักใช้กับแผลเป็น Hypertrophic และ Keloid ซึ่งมีหลายวิธีได้แก่
2.1 การฉีดยาให้แผลเป็นยุบ ซึ่งมักต้องร่วมกับการนวดบริเวณแผลเป็นที่ถูกวิธีด้วย
2.2 การใช้เลเซอร์
2.3 การใช้รังสี
2.4 การใช้ยาทาแผลเป็น หรือใช้แผ่นซิลิโคนปิดแผล

3. การรักษาแบบผสมผสาน คือ ใช้ทั้งวิธีผ่าตัดและไม่ผ่าตัดร่วมกัน ซึ่งโดยทั่วไปมักใช้ในกรณีแผลเป็น Hypertrophic และ Keloid ขนาดใหญ่ โดยจะฉีดยาให้ยุบลงในระดับที่ทำให้การผ่าตัดง่ายขึ้น แล้วจึงใช้วิธีการผ่าตัดแบบเย็บผิวหนังเข้าหากันโดยตรง หรือ วิธีการโยกเนื้อเยื่อข้างเคียงมาปิด เป็นต้น
ซึ่งแผลแต่ละแบบจะรักษาแบบไหนนั้นขึ้นอยู่กับความชำนาญของคุณหมอค่ะ