webmaster

การฝังเข็มรักษาโรคอะไรได้บ้าง ?

การฝังเข็มไม่เพียงแต่จะช่วยทำให้หลอดเลือดบริเวณที่ปักเข็มขยายตัวเท่านั้น แต่หลอดเลือดฝอยทั่วร่างกายก็จะมีการขยายตัวอย่างเหมาะสมอีกด้วย ทำให้เนื้อเยื่อทั่งร่างกายได้รับสารอาหารและขจัดของเสียที่คั่งค้างได้ดีกว่า การฝังเข็มยังสามารถออกฤทธิ์กระตุ้นเพื่อปรับการทำงานของอวัยวะอื่น ๆ ที่อยู่ห่างไกลออกไปจากจุดฝังเข็มได้อีกด้วย เช่น

– เมื่อปักเข็มกระตุ้นจุด “เน่ยกวาน” บนเส้นลมปราณเยื่อหัวหัวใจที่อยู่บริเวณข้อมือ สามารถปรับการเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะ สามารถทำให้หลอดเลือดหัวใจขยายตัวได้
-เมื่อปักเข็มกระตุ้นจุด “จู๋ซานหลี่” ของเส้นลมปราณกระเพาะอาการที่อยู่บริเวณหน้าแข็ง สามารถกระตุ้นทำให้กระเพาะอาการที่หดเกร็ง มีการคลายตัวและบีบตัวเป็นจังหวะดีขึ้น สามารถปรับการหลั่งของกรดในผู้ป่วยที่มีภาวะกรดกระเพาะอาการมากเกินไป ให้ลดน้อยลงสู่สภาพปกติได้

ตัวอย่างเหล่านี้ เป็นเรื่องที่เหลือเชื่อ สำหรับการแพทย์แผนปัจจุบัน เพราะไม่สามารถอธิบายกลไกการเกิดปรากฏการณ์เหล่านี้ได้จากความรู้ทางการแพทย์ที่มีอยู่แต่เดิม อย่างไรก็ตาม ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ระบบประสาทและการค้นคว้าในด้านการฝังเข็มพบว่า การกระตุ้นเส้นประสาทส่วนปลาย (peripheral nerve) ด้วยการฝังเข็ม สามารถก่อให้เกิดสัญญาณประสาทเข้าสู่ก้านสมองและสมอง และมีทางเดินประสาท (pathway) เชื่อมโยงไปยังศูนย์เซลประสาท (neuron center) ซึ่งส่วนใหญ่จะกระจายอยู่บริเวณก้านสมองและฮัยโปธาลามัส แล้วมีสัญญาณประสาทส่งกลับไปควบคุมการทำงานของอวัยวะระบบต่าง ๆ โดยผ่านระบบประสาทอัตโนมัติที่ไปยังอวัยวะนั้น ๆ

จากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ตอนนี้ การฝังเข็มสามารถรักษาโรคโดยอาศัยกลไกสำคัญ ดังต่อไปนี้
1. ปรับการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพสมดุลปกติ
2. ยับยั้งการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
3. ปรับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
4. ทำให้กล้ามเนื้อที่หดเกร็งมีการคลายตัว
5. กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดทั้งบริเวณเฉพาะที่และทั่วร่างกาย

วิธีการ และขั้นตอนแรกฝังเข็ม
ขั้นตอนและวิธีการรักษาโรคด้วยการฝังเข็ม มีดังต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ 1 วินิจฉัยโรค
เมื่อผู้ป่วยมาหา แพทย์จะทำการซักประวัติและตรวจร่างกายผู้ป่วยเพื่อทำการวินิจฉัยอาการและโรคเสียก่อนว่า ผู้ป่วยป่วยด้วยโรคอะไร มีอาการเจ็บปวดไม่สบายอะไรบ้าง อาการไหนเป็นอาการหลักที่สำคัญ อันไหนเป็นอาการรอง อาการไหนต้องรักษาก่อน อาการไหนค่อยรักษาทีหลัง มีโรคแทรกซ้อนอะไรบ้างหรือไม่ มีโรคอื่น ๆ ร่วมด้วยหรือไม่ เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 2 กำหนดแผนการรักษา
เมื่อวินิจฉัยอาการและโรคแล้ว แพทย์ก็จะนำข้อมูลมาวิเคราะห์วางแผนการรักษาเช่น จะต้องกำหนดเลือกจุดปักเข็มว่าจะใช้จุดอะไรบ้าง ตำแหน่งตรงไหน ใช้กี่จุด จุดไหนเป็นจุดหลักที่จะต้องปักทุกครั้ง จุดไหนเป็นจุดรองที่จะใช้ปักเป็นบางครั้งเหมือนกับแพทย์แผนปัจจุบันที่จะต้องเขียนใบสั่งยา (prescription) ว่าจะใช้ยากี่ตัว มีอะไรบ้าง รับประทานครั้งละกี่เม็ด วันละกี่เวลา เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 3 จัดท่าผู้ป่วย
แพทย์จะจัดท่าผู้ป่วยให้อยู่ในท่าที่เหมาะสมกับการปักเข็ม เช่น ใช้ท่านอนคว่ำเมื่อจะตั้องปักเข็มบริเวณหลังหรือเอว ใช้ท่านอนหงายเมื่อจะต้องปักเข็มบริเวณใบหน้า หน้าท้อง แขนขา ใช้ท่านั่งในกรณีต้องปักเข็มบริเวณต้นคอหรือท้ายทอย และในบางครั้งอาจต้องใช้ท่าตะแคง เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 4 ปักเข็ม
แพทย์จะใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคทำความสะอาดบริเวณผิวหนัง แล้วใช้เข็มเล็ก ๆ ที่ปราศจากเชื้อ ปักลงไปบนจุดฝังเข็มที่กำนหดเอาไว้ในแผนการรักษา การปักเข็มจะต้องปักผ่านชั้นผิวหนังอย่างรวดเร็ว เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกเจ็บมากนัก ขณะที่เข็มปักผ่านผิวหนัง ผู้ป่วยอาจจะรุ้สึกเจ็บเล็กน้อยเหมือนถูก “มดกัด” หรือคล้ายกับถูกฉีดยา (แต่จะเจ็บน้อยกว่าฉีดยามาก)

ที่มา : สมาคมศาสตร์การแพทย์แผนจีนในประเทศไทย

สวัสดีค่ะชาวเฟิร์สแคร์ ทางคลินิกได้มีการอัพเดทอัตราค่าบริการต่างๆนะคะ ซึ่งท่านสามารถดูรายละเอียดได้ในหน้า บริการของเรา นะคะ สำหรับท่านที่สนใจบริการของเรา สามารถเข้ามาปรึกษากับคุณหมออภิชาญ ได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายในการปรึกษาค่ะ

นอกจากนี้ทางคลินิกเราได้เพิ่มบริการ การรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน (Traditional Chinese Medicine) เช่นการฝังเข็ม ค่ะ ท่านที่มีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย, มีปัญหากับระบบทางเดินอาหาร ฯลฯ ลองเข้ามารักษากับทางคลินิกนะคะ โดย องค์การอนามัยโลกได้มีการยอมรับแล้วว่า ศาสตร์การฝังเข็มสามารถรักษาโรคได้ ดังนี้

1. ระบบทางเดินหายใจ
ไซนัสอักเสบชนิดเฉียบพลัน, จมูกอักเสบชนิดเฉียบพลัน, ไข้หวัด, ต่อมทอนซิลอักเสบเฉียบพลัน, หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน, หอบหืด (ได้ผลในเด็ก และคนที่ไม่มีโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ)

2. โรคตา
เยื่อบุตาอักเสบเฉียบพลัน, จอภาพตาอักเสบ (Central retinitis), สายตาสั้นในเด็ก, ต้อกระจกชนิดที่ไม่มีโรคแทรกซ้อน

3. ช่องปาก
ปวดฟัน, เหงือกอักเสบ, อาการปวดหลังถอนฟัน, คออักเสบ(Pharyngitis)

4. ระบบทางเดินอาหาร
การเกร็งตัวของกล้ามเนื้อหลอดอาหาร, สะอึก, กระเพาะอักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง, กระเพาะหลั่งกรดมากเกินไป, แผลในลำไส้เล็กส่วนต้นเรื้อรัง(ช่วยลดอาการปวด), ท้องผูก, แผลในลำไส้เล็กส่วนต้นเฉียบพลัน(ไม่มีโรคแทรกซ้อน), ลำไส้เล็กส่วนท้ายไม่ทำงาน, ลำไส้ใหญ่อักเสบ เฉียบพลันและเรื้อรัง, บิดจากเชื้อชิกาลล่า ท้องร่วง

5. ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ
ปวดหัว, ลมตะกัง ( ไมเกรน ), ปวดประสาทหน้า (Trigeminal neuralgia), โรคปากเบี้ยว (Facial palsy)(ในช่วง 3-6 เดือนแรก), อาการชาจากการกระแทก, โรคของปลายประสาท โรคโปลิโอ (ใน 6 เดือนแรก), โรคเมเนียร์ (Meniere disease), กระเพาะปัสสาวะไม่ทำงานเนื่องจากความผิดปกติของระบบประสาท, ปัสสาวะรดที่นอน ปวดในช่องระหว่างซี่โครง, อาการเกี่ยวกับคอและแขน ไหล่ติด (Frozen shoulder),ข้อศอกติด (Tennis elbow), รากประสาทขาถูกกดทับหรือไขอาติคา (Sciatica), ปวดหลัง, ข้ออักเสบ

เรียนสมาชิกเฟิร์สแคร์ ทราบนะคะ ตอนนี้ทางคลินิกมีการแจ้งการเปลี่ยนแปลงการใช้ e-mail ค่ะ เราจะเปลี่ยนมาใช้ firstcareclinic7@gmail.com แทนอีเมล์เดิมนะคะ เนื่องด้วยขณะนี้เรายกเลิกการใช้e-mail เดิมที่ hotmail ค่ะ

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการทำศัลยกรรมสามารถส่งมาสอบถามได้ที่ firstcareclinic7@gmail.com นี้ได้ค่ะ หรือ โทรติดต่อที่เบอร์ 086-3509030ได้ค่ะ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะชาวเฟิร์สแคร์ วันนี้ทางเฟิร์สแคร์คลินิกมีโปรโมชั่นใหม่เอาใจสาวๆ อยากสวย PROMOTION ศัลยกรรมปากบาง เพียง 6,900 บาท/ข้าง (จากปกติ 8,500/ข้าง) วันนี้-สิ้นเดือน กันยายน 2555 เท่านั้นนะคะ สนใจติดต่อ / จองคิว / นัดปรึกษาได้ที่ โทร / มือถือ : 02-434-6876 , 086-350-9030 – Email : firstcareclinic7@gmail.com ค่ะ